วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557


สรุปบทความ



                      ดึงเด็ก "สนุกวิทย์" ด้วยการทดลองกล้วยๆ



               เมื่อกล่าวถึงวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กหลายๆคนมักจะเมินหน้าหนี เพราะถูกปลูกฝังให้เชื่อว่าเป็นวิชาที่ยากและน่าเบื่อ ความเชื่อนี้ส่งผลให้เด็กบางคนไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ไปโดยปริยาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประโยชน์ของวิชาวิทยาศาสตร์มีมากมาย ทั้งต่อตัวเด็กเองและต่ออนาคตของประเทศชาติ จึงทำให้มีหลายประเทศทำการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นเรื่องสนุกหวังดึงดูดใจให้เด็กหันมารักเรียนมากขึ้น"โอโนะเดร่า เทซึยะ" ผู้คร่ำหวอดในวงการการศึกษาของญี่ปุ่นและประธานกักเคน เอดเคชันแนลเปิดเผยว่า เมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กญี่ปุ่นก็ไม่ต่างจากเด็กไทย เด็กที่เรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้ทำการทดลองด้วยตอนเอง จึงมีการคิดค้นหลักสูตรการเรียน

     "โอโนะเดร่า เทซึยะ" ผู้คร่ำหวอดในวงการการศึกษาของญี่ปุ่นและประธานกักเคน เอดเคชันแนล เปิดเผยว่า เมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กญี่ปุ่นก็ไม่ต่างจากเด็กไทย เด็กที่เรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้ทำการทดลองด้วยตอนเอง จึงมีการคิดค้นหลักสูตรการเรียน Science Experiment Ciassroom หรือที่เรียกว่า "ห้องเรียนทดลองวิทย์" ซึ่งได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แบบ Edutainment ที่จะทำให้เด็กได้สาระควบคู่ไปกับความสนุก ช่วยให้เกิดความเข้าใจและคิดวิเคราะห์ไปพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นวิธีการเปลี่ยนทัศนคติให้เด็กญี่ปุ่นกว่า 3 ล้านคนหันมาชอบการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น

     "การเรียนตามหลักสูตรนี้จะเน้นให้ความรู้ผ่านความสนุกสนาน เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของเด็กๆ หรือเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ปละดึงความสนใจจากเด็กได้โดยเฉพาะการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เด็กๆได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งคุณครูจะเป็นผู้แนะนำ เด็กจึงสนุกและกระตือรือร้นในการหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากการเรียนแบบเก่าที่ครูมักจะทดลองให้เด็กดูและร่วมกันหาคำตอบ ทำให้เด็กไม่รู้กระบวนการเกิดของคำตอบนั้นๆ การเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้มากจากความจำอย่างเดียวมันต้องอาศัยความเข้าใจด้วย อีกอย่างเด็กจะต้องประกอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง และทำการทดลองด้วยตอนเอง ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เขาลงมือทำเอง ซึ่งแตกต่างจากการเรียนพิเศษหรือติวเพื่อเตรียมสอบ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความเข้าใจให้กับเราในเวลานั้นได้ แต่มันไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงที่เด็กได้รับจากการเรียน" โอโนะเดร่า อธิบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น