วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย


ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้
ชื่อผู้วิจัย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิไล ทองแผ่ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี


จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

วิธีการดำเนินการค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 


สมมุติฐานในการศึกษาค้นคว้า
เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการและสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สถิติการทดสอบทีละแบบ


เคื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ จำนวน 24 แผ่น
2.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้จำนวน 24 แผ่น

ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง

1.กำเนินการสอบก่อนเรียนกับนักเรียนทั้งกลุ่ม แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพ้นฐานซึ่งเป็นแบบทดสอบเดียวกันทั้งสองกลุ่ม
2.ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองสอนตามแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้กัลกลุ่มทดลองได้แก่ 1) โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น กลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการจำนวน 4 แผน ใช้เวลา 6สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที 2) กลุ่มทดลองที่ 2 โรงเรียนวัดคูบัวกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้จำนวน 24 แผ่น ใช้เวลา 6 สัปดาห์ สปดาห์ละ4 วัน วันละ 40 นาที
3.เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินการตามที่กำหนดไว้แล้วทำการทดสบหลังเรียนกับนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน
4.วิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน

สรุป

1.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นฐาน ของเด็ดปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
3.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ไม่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น